วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

อาชีพทันตแพตย์
สถานที่ทำงาน 
มีทั้งสองแบบคือในโรงพยาบาลและคลินิคส่วนตัว มันแตกต่างกันไม่มากตรงที่อยู่ในโรงพยาบาลก็จะเจอผู้คนเยอะทั้งที่มาทำฟันและมาทำการรักษาในด้านอื่นๆ  แต่หากมีคลินิกเป็นของตัวเอง คนไข้ก็จะมีแต่มาเพื่อทำฟันเท่านั้น ส่วนใหญ่มาเพราะหมอนัด ทำให้ในแต่ละวันเจอคนไม่มาก แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือ การที่ต้องทำงานอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ ซึ่งมีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำฟันต่างๆ  แต่การทำงานในห้องแคบๆ ไม่ได้ทำให้รู้สึกอึดอัดเพราะเรากำลังทำงาน ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เมื่อทำงานเสร็จก็ออกไปเดินเล่นสูดอากาศ ไม่ได้อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมตลอดเวลา
สภาพการทำงาน 
หน้าที่หลักของทันตแพทย์คือการ ตรวจและรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับช่องปากด้วยการศัลยกรรม ซึ่งเป็นการทำงานด้านศิลปะและด้านการแพทย์ควบคู่กัน  สภาพการทำงานเกี่ยวกับเรื่องในช่องปากของคนไข้ในห้องตรวจเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน จะมีผู้ช่วยทันตแพทย์คอยช่วนหยิบจับอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ  และในบางครั้งผู้ป่วยมีอาการผิดปกติมากเกินกว่าที่จะรักษาได้ในทันที ก็ต้องเอ็กซเรย์ความผิดปกติแล้วส่งให้แพทย์ผู้ชำนาญการหรือหากเป็นกรณีร้ายแรงก็ต้องเข้าที่ประชุมและหาทางแก้ไขไปพร้อมๆกัน
ประเภทของลูกค้า
ลูกค้าจะเป็นผู้ที่มีปัญหาทางช่องปาก เรียกได้ว่ามีลูกค้าทุกเพศทุกวัย แต่จะแบ่งออกได้เป็นสองช่วงวัยหลักๆ ก็คือ 
  1. วัยรุ่น  ซึ่งส่วนมากจะมาเพื่อแก้ไขความผิดปกติของฟัน เช่น ฟันห่าง ฟันเหยิน หรือฟันผุ หรือ ฟันครุฑที่เกิดมากในวัยรุ่น ต้องดูตามอาการว่าจะต้องทำการศัลยกรรมตกแต่ง  ดัดฟัน อุด หรือ ถอน แต่ส่วนมากในวัยรุ่นจะใช้วิธีการอุดฟันในกรณีฟันผุ และ รักษารากเทียมหากฟันผุมากจนจำเป็นจะต้องถอน เพราะอายุยังน้อยยังต้องใช้ฟันทำงานอีกนาน 
  2. วัยชรา ส่วนมากจะมาเพื่อการถอนฟันในส่วนที่ใช้การไม่ได้แล้ว ผุ ปวด แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ การทำฟันปลอม ในวัยชรากว่า 90 เปอร์เซ็นท์ต้องใส่ฟันปลอมเพราะเมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆภายในร่างกายทำงานอย่างหนักมาเป็นเวลานาน ก็ต้องล่วงโรยหากไม่ดูแลรักษาให้ดี 
  3. บุคคลทั่วไปที่มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกช่วงวัย ที่ไม่ดูแลรักษาช่องปากของตัวเองให้ดี ทำให้ฟันผุ และปวดจนต้องมาหาหมอ  และทางที่ดีควรตรววจสุขภาพของช่องปากอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
จะสังเกตุได้ว่าไม่ว่าใครก็ต้องมาหาทันตแพทย์เพื่อรักษาฟัน เพราะฟันเป็นอวัยวะที่เราใช้งานอยู่ตลอดเวลา ต้องเสียหาย และเกิดโรคต่างๆได้รวดเร็วกว่าอวัยวะชนิดอื่นๆ เพราะฉะนั้นงานของคุณหมอจึงมีเข้ามาอยู่ตลอดเวลารับรองว่าเป็นหมอฟันไม่ตกงานแน่นอน

อาชีพนี้ต้องทำงานร่วมกับอาชีพ/ตำแหน่งงานใดบ้าง
  1. ผู้ช่วยทันตแพทย์ ที่จะเป็นคนช่วยส่งเครื่องมือ        ผสมวัสดุทางทันตกรรมหลากหลายชนิด   ปั่นอมัลกัม ปรับไฟส่องช่องปาก ล้างเครื่องมือ แพ็ค นึ่ง เช็คสต๊อควัสดุ เพราะทันตแพทย์เองต้อง จดจ่ออยู่กับการทำฟันให้กับคนไข้ ในเรื่องเล็กๆน้อยๆอื่นนั้นก็จะมีผู้ช่วยคอยทำให้ 
  2. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านที่ใกล้เคียงกัน ในบางครั้งปัญหาช่องปากอาจไม่ได้เกิดจากฟันเท่านั้น แต่อาจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆที่ในบางครั้ง ทันตแพทย์ไม่สามารถทำการแก้ไขได้เพียงผู้เดียว ต้องส่งต่ออาการนั้นๆให้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าจะต้องดำเนินงานอย่างไรต่อไป

เป้าหมายของงาน / โจทย์ใหญ่ของงาน /ความท้าทายของงาน

เป้าหมายคือการทำให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันในเรื่องของช่องปากได้ตามปกติ การเป็น     ทันตแพทย์จะแตกต่างจากการรักษาโรคในแบบอื่นๆ คือ สามารถรักษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับช่องปากนั้นได้จน    หายขาด     แต่ต้องหาวิธีการที่จะทำให้คนไข้เจ็บตัวน้อยที่สุด และ ทำให้ช่องปากของคนไข้กลับมาทำงานได้อย่าง    ดีที่สุด เคยเจอเคสที่ฟันซ้อนกันไม่เป็นระเบียบและผุ เกิดปัญหาหลายๆอย่างพร้อมกันในครั้งเดียว ถ้าอย่าง    กรณี    แบบนี้ถ้าเราไม่ได้ชำนาญในเรื่องใดก็จะส่งให้หมอผู้เชี่ยวชาญ คือเวลารักษาคนไข้ก็จะมีหมอหลัก    หรือหมอ    เจ้าของไข้เป็นคนวางแผนภาพรวมทั้งหมด จากนั้นคือคนไข้ต้องทำอะไรบ้างก็จะส่งถึงหมอผู้เชี่ยวชาญ แต่ถ้าเรา    เป็นคนที่    เชี่ยวชาญอยู่แล้วก็จะวางแผนได้เลย
Work process 
ขึ้นอยู่กับว่าอาการของคนไข้นั้นจะต้องดำเนินการอย่างไร ให้การรักษาโรค และความผิดปกติของฟัน    และช่องปากด้วยการศัลยกรรม ให้ยา ตรวจช่องปากและฟันของผู้ป่วย ใช้เครื่องเอ็กซเรย์และทดสอบตามความ    จำเป็น เพื่อจะได้ทราบถึงลักษณะของความผิดปกติ พิจารณาผลของการตรวจและการทดสอบ และตกลงใจ    เลือกวิธีการรักษา    หารูฟันผุ ทำความสะอาดและอุดรูฟันผุ และถอนฟันที่เป็นโรคหรือไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์     พิมพ์ปากและจำลองแบบของเหงือก และส่วนอื่นๆ ของปาก เพื่อใช้ในการประดิษฐ์ฟันปลอม และใส่ฟันปลอม     ใส่เครื่องยึดเพื่อจัดฟันที่มีลักษณะผิดปกติ หรือเกให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง รักษาโรคฟัน ปากหรือเหงือกด้วย    การใช้ยาหรือศัลยกรรม ให้ยาชาหรือวางยาสลบตามความจำเป็น อาจทำเฉพาะทางในการรักษาอย่างใดอย่าง    หนึ่ง หรือมากกว่า ซึ่งการทำงานในแต่ละวันจะมีความคลายคลึงกัน แต่จะแล้วแต่อาการของคนไข้แต่ละคน
Career path/ความก้าวหน้าของสายอาชีพ
ทันตแพทย์เป็นการเรียนที่ต้องใช้ทุนการศึกษาให้กับรัฐบาลในสายงานที่เรียนมา โดยประจำอยู่โรงพยาบาลของรัฐ หรือ สถานพยาบาล ศูนย์อนามัยของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นเวลา 2 ปี เมื่อใช้ทุนจนครบหมดแล้วจะทำงานประจำต่อในหน่วยงานของรัฐ หรืออาจจะไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก หรือ เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย หรือ ประกอบอาชีพอิสระโดยตั้งคลีนิครักษาเป็นส่วนตัว ทำงานในโรงพยาบาลเอกชนก็ได้ ถ้ารับราชกาลต่อไปก็จะได้รับการเลื่อนขั้น และเลื่อน    ตำแหน่งตามระเบียบของทางราชกาล หรือ เป็นหัวหน้าภาควิชาเป็นต้น  โดยที่ในการทำงานเราต้องทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน เราต้องพัฒนาความรู้ความสามารถของเราให้ดีขึ้นในทุกๆวัน ต้องสะสมประสบการณ์และรู้จักการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นให้ได้ เพราะยิ่งได้อยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นก็ต้องรับผิดชอบงานที่มีความยากและต้องอาศัยประสบการณ์ในการรักษา
บุคลิก นิสัยของคนที่เหมาะจะทำอาชีพนี้
  1. ทันตแพทย์ต้องเป็นคนใจเย็นอย่างมาก เพราะทำงานในส่วนที่ละเอียดอ่อน และบอบบาง หากใจร้อนอาจจะทำให้ช่องปากของคนไข้เป็นแผลใหญ่ รักษายาก และบาดเจ็บได้ง่าย 
  2. ต้องเป็นคนที่อัธยาศัย และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการพูดคุยกับคนไข้ ไม่ให้คนไข้วิตกกังวลหรือกลัวที่จะได้รับการรักษา ทำให้คนไข้เชื่อใจและเชื่อมั่นในความสามารถของแพทย์  
  3. เป็นคนที่ชอบเรียนรู้ และค้นหาความรู้ใหม่ๆให้กับตัวเองอยู่เสมอ เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา มีสิ่งใหม่ๆที่อำนวยความสะดวกให้กับคนไข้ ทำให้รักษาง่ายขึ้นคนไข้เจ็บน้อยลง เราจึงต้องเรียนรู้และนำมาปรับใช้กับอาชีพให้ได้มากที่สุด   
  4. สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี เพราะเราไม่รู้ว่าคนไข้จะอาการเป็นอย่างไร หนักหรือเบาแค่ไหน ก็ต้องมั่นฝึกฝีมือเพราะรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าที่จะเกิดขึ้นอยู่เสม
  5. มีความกล้าที่จะตัดสินใจ กล้าลงมือทำ เพราะอาชีพหมอนั้นเกี่ยวข้องกับชีวิตคน เมื่อเห็นอาการแล้วเราจะต้องรู้ได้ในทันทีว่าจะต้องทำการรัษาอย่างไรบ้าง เพื่อให้คนไข้หายจากอาการได้เร็วที่สุด 
  6. การเรียนทันตแพทย์จำเป็นจะต้องมีความรู้ทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ ต้องมีความประณีตศิลป์ ต้องทำออกมาให้เหมือนจริง เพราะการทำฟันเราต้องทำให้มันเหมือนจริงและเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นพอดีกับช่องปาก สภาพฟัน ขนาด หรือสีของฟัน รวมถึงการใช้งาน ก็จะเป็นจุดเด่นของวิชาชีพนี้

ผลตอบแทน

ผลตอบแทนและสวัสดิ์การของทันตแพทย์นั้นขึ้นอยู่กับว่าทำงานในส่วนของ ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือ คลินิค ซึ่งนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความรู้ วุฒิการศึกษา และ ประสบการณ์ในการทำงานอีกด้วย โดยจะทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง การทำงานอาจจะต้องทำงานวันเสาร์ อาทิตย์ ด้วย ขึ้นอยู่กับว่าจะได้ตารางการทำงานหรือเข้าเวรในวันใด  งานของทันตแพทย์จะมีเวลาเลิกงานตามระบบราชกาล ไม่มีการเข้าเวรในตอนกลางคืนเหมือนกับแพทย์รักษาโรคอื่นๆ นอกเสียจากจะทำในคลินิคที่มีการทำงาน 24 ชั่วโมง  ในระบบราชกาลนอกจากจะได้เงินเดือนแล้ว ยังมีสวัสดิการตามระเบียบที่ทางราชกาล ส่วนผู้ที่ทำงานในภาครัฐวิสาหกิจ และ เอกชนอาจได้รับประโยชน์ในด้านอื่นๆ  สำหรับทันตแพทย์ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้วยการเปิดคลีนิครักษาฟัน มีรายได้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และความอุตสาหะ เพราะเป็นเจ้านายตัวเอง หากขยันและทำงานดีจนลูกค้าติดใจและมีการบอกต่อก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีก
คุณค่าของอาชีพนี้ต่อคนรอบข้างและสังคม
อาชีพทันตแพทย์เป็นแพทย์เฉพาะทางที่ไม่ใช่ใครก็สามารถรักษาได้ ต้องใช้ความชำนาญกาและประสบการณ์ในการรักษา มีหลายกรณีที่คนไข้มาหาทันตแพทย์เพราะไม่สามารถทนต่อความเจ็บปวดของอาการได้ เพราะฉะนั้นทันตแพทย์จึงถือว่าเป็นอาชีพที่สำคัญมากอีกอาชีพหนึ่งในสังคม ถึงแม้ว่าเรื่องของฟันจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากปล่อยไว้เนินนานอาการก็จะลุกลาม เนื่องจากฟันเป็นจุดรวมของเส้นประสาทอาจทำให้ถึงชีวิตได้หากไม่รีบรักษา คำว่าแพทย์นั้นไม่ว่าจะแขนงใดก็แล้วแต่ล้วนมีความสำคัญและคุณค่าในสังคมอย่างมาก เพราะได้ช่วยเหลือชีวิตคนให้ยังคงอยู่และใช้ชีวิตในสังคมอยู่ได้ตามปกติ

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

กริยา 3 ช่อง คือ คำกริยาในภาษาอังกฤษ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่อง บ่งบอกถึงเหตุการณ์ใน
แต่ละช่วงเวลาได้อีกด้วย
คำที่ใช้แสดงถึงอาการ เหตุการณ์ และช่วงเวลา คือ คำพูดที่แสดงการกระทำของ ประธานในประโยค หรือคำที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยา หากประโยคขาดคำกริยา ความหมายอาจจะผิดเพี้ยน และไม่สามารถทราบเหตุการณ์ อดีต หรือปัจจุบัน หรืออนาคต ได้เลย เพราะเป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์
คำกริยา แบ่งออกเป็น 3 ช่อง คือ
1. สหกรรมกริยา (Transitive Verb) คือ คำกริยาที่ต้องมีตัวกรรม ถ้าเกิดไม่มีคำอื่นเข้ามา ความหมายจะไม่สมบูรณ์ เช่น The girl is playing a computer game at home. หมายความว่า เด็กผู้หญิงเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่บ้าน คำว่า “playing” เป็นคำกริยา บอกให้ทราบว่าขณะนี้ กำลังเล่นเกมอยู่ ส่วนคำว่า “game computer” เป็นตัวกรรม หรือตัวทำหน้าที่รองรับคำกริยาให้สมบูรณ์มากขึ้น เพราะถ้าใช้คำว่า Playing อย่างเดียว จะไม่รู้ว่า กำลังเล่นอะไรอยู่
2. อกรรมกริยา (Intransitive Verb) คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีตัวกรรม เพราะความหมายจะสมบูรณ์อยู่แล้ว เช่น The boy runs in the forest. ประโยคไม่ต้องมีตัวกรรม ก็ทำให้ประโยคสมบูรณ์ เพราะคำว่า “run” แปลว่า วิ่ง ความหมายจึงสมบูรณ์ครบถ้วนไม่ต้องมีตัวมาเติมเต็ม ซึ่งเรียกว่า อกรรมกริยา
3. กริยาช่วย (Helping Verb หรือ Auxiliary Verb) คือ กริยาที่มีหน้าที่ช่วยกริยาด้วยกัน และยังทำให้ตัวของตัวเองมีความหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
กริยา 3 ช่อง คือ คำกริยาในภาษาอังกฤษ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่อง บ่งบอกถึง เหตุการณ์ ในแต่ละช่วงเวลาได้อีกด้วย
กริยาช่องที่ 1 คือ ปัจจุบัน
กริยาช่องที่ 2 คือ อดีต
กริยาช่องที่ 3 คือคำกริยาที่ใช้ใน perfect tense ทุกชนิด และ passive voice


กริยาช่องที่1                                กริยาช่องที่2                             กริยาช่องที่3                   

awake                                         awoke                                     awoken                     

be                                                was were                                 been                         

bear                                             bore                                         born                         

beat                                             beat                                         beat                           

become                                       became                                  become                     

begin                                           began                                      begun                        

bend                                             bent                                         bent                      

beset                                            beset                                       beset                       

bet                                                bet                                            bet                          

bid                                                bid                                            bid                       

bind                                              bound                                      bound                        

bite                                               bit                                             bitten                        

blow                                              blew                                         blown                         

cut                                                 cut                                            cut                              

come                                            came                                        come                        

do                                                 did                                             done                        

dig                                                dug                                            dug      

eat                                                ate                                             eaten

feed                                              fed                                              fed

fall                                                 fell                                               fallen

feed                                              fed                                              fed

fit                                                   fit                                                 fit

sell                                                sold                                             sold

set                                                set                                                set

sew                                              sewed                                          sewed
]